เมนู

รอบบ่อย ๆ ชื่อว่า ไม่มีกำหนดเพราะมีปัจจัยไม่ขาดสายตลอดเวลาที่กิเลสวัฏ
ยังไม่ขาดทีเดียว. ภวจักรนี้ เมื่อหมุนอย่างนี้
พึงทราบ โดยความเป็นสัจจะ และ
เป็นแดนเกิดแห่งสัจจะ 1 โดยกิจ 1 โดยการ
ห้าม 1 โดยการอุปมา โดยประเภทแห่งความ
ลึกซึ้ง 1 โดยประเภทแห่งนัย 1 ตามควร.


พึงทราบโดยความเป็นสัจจะและเป็นแดนเกิด


ในคาถานั้น เพราะคำที่ตรัสไว้ในสัจจวิภังค์ว่า " กุศลและอกุศลกรรม
เป็นสมุทยสัจจะ โดยไม่แปลกกัน " ดังนี้ ฉะนั้น คำว่า อวิชฺชาปจฺจยา
สงฺขารา
ดังนี้ ได้แก่ สังขารทั้งหลายเกิดเพราะอวิชชา จัดเป็นสัจจะที่ 2 มี
สัจจะที่ 2 เป็นแดนเกิด. วิญญาณเกิดแต่สังขารทั้งหลาย จัดเป็นสัจจะที่ 1
มีสัจจะ 2 เป็นแดนเกิด. นามรูปเป็นต้นมีวิปากเวทนาเป็นที่สุด เกิดเพราะ
วิญญาณเป็นต้น จัดเป็นสัจจะที่ 1 มีสัจจะที่ 1 เป็นแดนเกิด ตัณหาเกิด
แต่เวทนา จัดเป็นสัจจะที่ 2 มีสัจจะที่ 1 เป็นแดนเกิด. อุปาทานเกิดแต่
ตัณหา จัดเป็นสัจจะที่ 2 มีสัจจะที่ 2 เป็นแดนเกิด. ภพเกิดแต่อุปาทาน
จัดเป็นสัจจะทั้ง 2 คือที่ 1 และที่ 2 เกิดแต่สัจจะที่ 2 เป็นแดนเกิด. ชาติเกิด
แต่ภพ จัดเป็นสัจจะที่ 1 เกิดแต่สัจจะที่ 2. ชรามรณะเกิดแต่ชาติ จัดเป็น
สัจจะที่ 1 มีสัจจะที่ 1 เป็นแดนเกิด. ภวจักรน้ พึงทราบโดยเป็นสัจจะ
และเป็นแดนเกิดตามควร ดังพรรณนามาฉะนี้ก่อน.

พึงทราบภวจักรโดยกิจ


อนึ่ง เพราะในภวจักรนี้ อวิชชาย่อมยังเหล่าสัตว์ให้หลงใหลในวัตถุ
ทั้งหลาย และย่อมเป็นปัจจัย เพราะความปรากฏแห่งสังขารทั้งหลาย อนึ่ง
สังขารทั้งหลายย่อมปรุงแต่งสังขตธรรม และย่อมเป็นปัจจัยแก่วิญญาณ. แม้
วิญญาณก็ย่อมรู้ชัดซึ่งวัตถุ และย่อมเป็นปัจจัยแก่นามรูป. แม้นามรูปก็อุปถัมภ์
ซึ่งกันและกัน และย่อมเป็นปัจจัยแก่สฬายตนะ. แม้สฬายตนะก็ย่อมเป็นไปใน
วิสัยของตน และย่อมเป็นปัจจัยแก่ผัสสะ. แม้ผัสสะก็ถูกต้องซึ่งอารมณ์ และ
ย่อมเป็นปัจจัยแก่เวทนา. แม้เวทนาก็เสวยซึ่งรสอารมณ์ และย่อมเป็นปัจจัย
แก่ตัณหา. แม้ตัณหาก็กำหนัดในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด และ
ย่อมเป็นปัจจัยแก่อุปาทาน. แม้อุปาทานก็ยึดถือธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความ
ยึดถือ และย่อมเป็นปัจจัยแก่ภพ. แม้ภพก็สับสนไปในคติต่าง ๆ และย่อมเป็น
ปัจจัยแก่ชาติ. แม้ชาติก็ยังขันธ์ทั้งหลายให้เกิด เพราะขันธ์เหล่านั้นเป็นไปด้วย
ภาวะคือความเกิดโดยเฉพาะ และย่อมเป็นปัจจัยแก่ชรามรณะ. แม้ชรามรณะก็
ตั้งอยู่เฉพาะซึ่งความแก่และความแตกแห่งขันธ์ทั้งหลาย และย่อมเป็นปัจจัยแก่
ความปรากฏในภพอื่น เพราะความที่ขันธ์ทั้งหลายเป็นที่รองรับความโศกเป็นต้น
ฉะนั้น ภวจักรนี้ บัณฑิตพึงทราบแม้โดยกิจอันเป็นไป 2 อย่าง ในบท
ทั้งปวงตามสมควร.

พึงทราบภวจักรโดยการห้าม


อนึ่ง เพราะในภวจักรนี้ คํวว่า "สังขารทั้งหลายเกิดเพราะ
อวิชชาเป็นปัจจัย"
ดังนี้ เป็นการห้ามความเห็นว่ามีผู้สร้าง. คำว่า วิญญาณ